จีนบนโครโมโซมเพศ




จีนบนโครโมโซมเพศ

                คนปกติมีโครโมโซม  ทั้งหมด  23  คู่  เป็นโครโมโซมที่ควบคุมลักษณะการเจริญของร่างกายทั่วไป  มี  22  คู่แต่ละคู่เหมือนกัน  และเป็นโครโมโซมที่ควบคุมเพศ  1  คู่  ถ้าเหมือนกัน  คือ XX  เป็นเพศหญิง  และถ้าไม่เหมือนกัน  คือ XY  เป็นเพศชาย   เพราะฉะนั้นเราก็จะพิจารณา  จีนที่อยู่บนโครโมโซม  X  และโครโมโซม  Y ซึ่งนักวิทยาศาสตร์โทมัส ฮัน มอร์แกน (Thomas Hunt Morgan)  และทีมงาน   ค้นพบเป็นครั้งแรก  โดยการทดสอบแมลงหวี่พบว่า  แมลงหวี่มีโครโมโซม คู่ โดยมีออโตโซม คู่ และโครโมโซมเพศ คู่ เพศชายเป็น XY  และเพศหญิงเป็น XX 
                การทดลองคือนำแมลงหวี่เพศเมีย ตาสีแดงผสมกับเพสผู้ตาสีขาว  ลูกที่ได้  ทุกตัวทั้งสองเพศมีตาสีแดง  นำลูกรุ่น  F1  ผสมกัน  พบว่า  ลูกรุ่น  F2  ได้เพศผู้ ตัว  ตาแดง ตัว  ตาขาว ตัว  และเพศเมีย ตัว ตาแดงทั้ง ตัว  ดังนี้
เพศผู้ตาสีขาว   +  เพศเมียตาสีแดง
ลูก F1    =   ทุกตัวทุกเพศตาสีแดงหมด
ลูก F1  ผสมกัน      เพศผู้ตาสีแดง   +   เพศเมียตาสีแดง
ลูก F2   =    เพศผู้ตาขาว  ,  เพศผู้ตาแดง  ,  เพศเมียตาแดง  ,  เพศเมียตาแดง
จากการผสมดังกล่าว  อธิบายได้ดังนี้
รุ่นพ่อแม่      Xขาว Y          +       XแดงXแดง
Gamete         Xขาว   ,   Y    +       Xแดง     (2×1=2)
F1                Xขาว Xแดง  (ตาแดง)  ,  Xแดง Y    (ตาแดง)
นำลูกรุ่น F1  มาผสมกัน
                     Xแดง Y         +       XขาวXแดง
Gamete      Xแดง   ,   Y    +       Xขาว  ,  Xแดง          (2×2=4)
F2                Xแดง Xขาว ,  Xแดง Xแดง  ,  Xขาว Y  ,  Xแดง Y       
F2   มีฟีโนไทป์  ดังนี้    Xแดง Xขาว(ตาแดง)   ,  Xแดง Xแดง (ตาแดง)   ,  Xขาว Y (ตาขาว)   ,  XแดงY(ตาแดง)         
แสดงว่า   Xแดง เป็นจีนเด่น  ,Xขาว  เป็นจีนด้อย  และ จีน Y ไม่แสดงลักษณะตาขาวตาแดง
การถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยจีนบนโครโมโซมเพศ  เรียกว่า sex-linked gene  ถ้าจีนอยู่บนโครโมโซมเพศ เรียกว่า  X-linked gene
                ในคนพบจีนควบคุมลักษณะบนโครโมโซมเพศ  มากกว่า  100  ลักษณะ ซึ่งได้แก่  ลักษณะตาบอดสี  ,โรคฮีโมฟีเลีย  และโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD  เป็นต้น
                ลักษณะตาบอดสีในคน  พบจีนดังนี้
เพศชาย                                 เพศหญิง                               จีโนไทป์
XC Y                                      XC XC                                    ปกติ
-                                              XC Xc                                     เป็นพาหะ
Xc Y                                       Xc Xc                                     ตาบอดสี
                ลักษณะโรคฮีโมฟีเลีย  (hemophilia) ในคน  พบจีนดังนี้
เพศชาย                                 เพศหญิง                               จีโนไทป์
XH Y                                      XH XH                                    ปกติ
-                                              XH Xh                                     เป็นพาหะ
Xh Y                                       Xh Xh                                     ตาบอดสี
                ลักษณะโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD     (glucose-6-phosphase dehydrogenase deficiency) ในคน  พบจีนดังนี้
เพศชาย                                 เพศหญิง                               จีโนไทป์
XG Y                                      XG XG                                    ปกติ
-                                              XG Xg                                     เป็นพาหะ
Xg Y                                       Xg Xg                                     ตาบอดสี
ตัวอย่าง  พ่อที่ตาปกติ  ส่วนแม่เป็นตาบอดสี  ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นตาบอดสีในอัตราส่วนเท่าใด
XC Y     +     Xc Xc
XC  ,  Y     +     Xc    (2×1=2)
XC Xc   ,    Xc Y      ลูกสาวเป็นพาหะ 100%  ส่วนลูกชายเป็นโรคตาบอดสี 100 %
ตัวอย่าง  พ่อที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย    ส่วนแม่เป็นพาหะของโรคฮีโมฟีเลีย    ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคฮีโมฟีเลีย    ในอัตราส่วนเท่าใด
Xh Y     +     XH Xh
Xh  ,  Y     +     XH  ,  Xh    (2×2=4)
XH Xh   , Xh Xh   ,    XH Y  , Xh Y     ลูกสาวเป็นพาหะ 50%  เป็นโรค 50%  
ส่วนลูกชายปกติ   50%  เป็นโรค 50%  
ตัวอย่าง  พ่อที่เป็นปกติ    ส่วนแม่เป็นพาหะของโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD     ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD     ในอัตราส่วนเท่าใด
XG Y     +     Xg Xg
XG  ,  Y     +     Xg       (2×1=2)
XG Xg      , Xg Y     ลูกสาวเป็นพาหะ 100%      ส่วนลูกชายเป็นโรค   100%      
                จากการศึกษา โครงสร้างโครโมโซมโดยกระบวนการ  Karyotype   พบโครงสร้างของสัตว์ดังนี้
คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม         เพศผู้  XY   เพศเมีย  XX
นกและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก    เพศผู้  ZZ   เพศเมีย  ZW
ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงสาบ                เพศผู้  XO   เพศเมีย  XX     ซึ่ง XO มีโครโมโซมเพศเพียงครึ่งเดียวของเพศเมีย
                ในการศึกษา  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดโดยจีนในโครโมโซมเพศ หรือ X-linked gene  จะศึกษาโดยการเขียน  พันธุประวัติ หรือ เพดิกรี (pedigree)  เช่น

โดย     แทนเพศชายปกติ   O  แทนเพศหญิงปกติ
แทนเพศชายที่เป็นโรค=  แทนเพศหญิงที่เป็นโรค

เส้นที่เชื่อมระหว่าง  ชาย  กับ  หญิง  แสดงการแต่งงานกันและมีบุตรตามเส้นด้านล่าง










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น